จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การทํางานของสวิตช์


สวิตซ์
.......สวิตซ์ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการเปิดหรือปิดวงจรไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่ต้องการปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าวงจร หรือตัดกระแสไฟฟ้า
ไม่ไหลเข้าวงจรตามต้องการได้ ที่ตัวของสวิตซ์จะมีตัวเลขบอกปริมาณกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าไว้ด้วย

 ส่วนประกอบของสวิตซ ์

  • คาน เป็นที่กดปิดเปิดทำด้วยฉนวน
  • แผ่นโลหะใต้คาน สำหรับต่อเชื่อมกับปุ่มโลหะที่ติดอยู่กับฐานสวิตซ์ เพื่อทำให้ไฟฟ้าครบวงจร
  • ขดลวดสปริง เป็นส่วนที่อยู่บริเวณกึ่งกลางคาน ส่วนนี้จะทำหน้าที่ดันคานให้ค้างอยู่ในตำแหน่งเปิดหรือปิดตามต้องการ
.......การสร้างสวิตซ์ตามหลักการจะประกอบด้วยชิ้นโลหะ 2 ชิ้น อยู่ในวงจรไฟฟ้าจะถูกจัดให้สามารถแตะหรือแยกออกจากกันได้ง่าย
โลหะทั้งสองชิ้นนี้เรียกว่า คอนแทค ( Contact ) เมื่อโลหะทั้งสองชิ้นแตะกันจะครบวงจรกระแสไฟฟ้าจะสามารถไหลผ่านวงจรไฟฟ้า
เมื่อโลหะ 2 ชิ้น แยกออกจากกันทำให้วงจรเปิดกระแสไฟฟ้าจะหยุดไหลจากหลักการดังกล่าวมาสร้างสวิตซ์ที่ใช้ทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยคานที่ทำด้วยฉนวนใช้เป็นที่กดให้สวิตซ์เปิดปิด ใต้คานมีแผ่นโลหะต่อเชื่อมกับปุ่มโลหะที่ที่ติดอยู่กับฐาน สวิตซ์ซึ่งจะทำให้ไฟฟ้าครบวงจรและบริเวณกึ่งกลางของคายจะมีขดลวดสปริงคอยทำหน้าที่ดันคานอยู่ในตำแหน่งปิดหรือเปิดตามต้องการ
สวิตซ์มีหลายแบบ ตัวอย่างเช่น
.......1.สวิตซ์ทางเดียว เป็นสวิตซ์ที่โยกปิด-เปิด วงจรไฟฟ้าเพียงทางเดียว ในการต่อสวิตซ์กับวงจรไฟฟ้าจะใช้สวิตซ์ 1 อันต่อกับหลอดไฟ
1 ดวง ซึ่งสามารถปิด-เปิดสวิตซ์ ได้โดยตรง นอกจากนี้สวิตซ์นี้ 1 อันสามารถต่อไฟได้หลายๆดวงได้ โดยต่อหลอดไฟแบบขนาน
แล้วจึงนำมาต่อกับแบบอนุกรมกับสวิตซ์การต่อในลักษณะนี้เหมาะสำหรับ
.......การต่อให้องประชุม ห้องเรียน โรงงาน ฯลฯ การต่อสวิตซ์ 1 อันกับหลอดหลายๆดวง อาจไม่เป็นการประหยัดพลังงาน
เพราะถ้าเราต้องการแสงสว่างเพียงบางส่วนก็จำเป็นต้องเปิดไฟทุกดวง
.......2.สวิตซ์สองทาง เปิดการติดตั้งสวิตซ์2อัน ต่อกับหลอดไฟ 1 ดวง ลักษณะของสวิตซ์แบบนี้ การใช้สวิตซ์แบบนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวก ในการเปิด-ปิด จึงนิยมใช้ติดตั้งในบริเวณขึ้นลงบันไดหรือทางเข้าออกประตู
สวิตซ์แบบนี้นอกจากจะอำนวยความสะดวกแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
.......3.สวิตซ์อัตโนมัติ เนื่องจากฟิวส์ที่ใช้อยู่กันส่วนใหญ่เมื่อขาดแล้วก็จะต้องเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งทำให้ไม่สะดวก จึงได้มีการออกแบบ
สวิตซ์ อัตโนมัติขึ้นมาใช้แทน สวิตซ์แบบนี้ใช้หลักการที่ว่า เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินขนาดหรือไฟฟ้าลัดวงจร สวิตซ์อัตโนมัติจะตัดวงจร
ทันที โดยที่ไม่มีส่วนใดของสวิตซ์หลอมละลายขาดอกไปเหมือนกับฟิวส์ เมื่อตรวจแก้ไขสาเหตุที่ทำให้กระแสไฟฟ้ามากเกินขนาด หรือซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้วสามารถกดปุ่มที่สวิตซ์อัตโนมัติทันนทีเพื่อต่อวงจรไฟฟ้าใหม่ โดยไม่ต้องเปลี่ยนฟิวส์
สวิตซ์อัตโนมัติใช้กันตามบ้านเรือนทั่วไปมี3แบบ ได้แก่ แบบความร้อน ( Thermaltype ) แบบแม่เหล็ก ( Magnetic type )
แบบอิเลคทรอนิกส์ ( Electronic type )
.......ปัจจุบันนิยมใช้สวิตซ์อัตโนมัติแทนสะพานไฟบนแผงควบคุมและนิยมเป็นสวิตซ์ปิด-เปิด รวมทั้งเป็นทั้งฟิวส์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ที่มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ทั้งนี้สามารถปิด-เปิดวงจรไฟฟ้าได้เช่นเดียวกับสวิตซ์
และมีความไวในการตัดวงจรไฟฟ้ามากกว่าฟิวส์ ในการเลือกใช้สวิตซ์อัตโนมัติต้องคำนึงถึงความต่างศักย์ และปริมาณของ
กระแสไฟฟ้าซึ่งบนสวิตซ์โดยทั่วไป จะมีตัวเลขบอกความต่างศักย์และจำนวนกระแสไฟฟ้าที่สวิตซ์ทนไฟได้ เช่น 5 A 220 V หมายถึง
สวิตซ์อันนี้ใช้กับกระแสไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ 220 โวลต์ และทนกระแสไฟฟ้าได้ 5 แอมแปร์ ถ้ากระแสไฟฟ้าสูงกว่า 5 แอมแปร์
จะใช้สวิตซ์อันนี้ไม่ได้ เพราจะทำให้เกดอันตรายได้ ทั้งนี้เพราะกระแสไฟฟ้าที่ผ่านสวิตซ์ มากเกินความร้อนสูงบริเวณจุดสัมผัสของแผ่นโลหะ
จนทำให้สวิตซ์ไหม้ได้ ด้วยสาเหตุนี้เองจึงควรเลือกใช้สวิตซ์ให้เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าและไม่ควรเลือกใช้สวิตซ์อันเดียว
ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดให้ทำงานพร้อมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น