จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการตรวจซ่อม โทรทัศน์สีรุ่นใหม่ สำหรับช่างมือใหม่

เทคนิคการตรวจซ่อม
โทรทัศน์สีรุ่นใหม่
สำหรับช่างมือใหม่   
                                 โดย อ.สำราญ  ชนะบุตร
 
1. อาการเปิดไม่ติด      เปิดไม่ติดไม่แสดงอะไรให้เห็นเลยหรืออาจแสดงทาง LED หรือมีเสียงออสซิเลต ช่างเราๆเรียกว่า เปิดไม่ติดอาการนี้เกือบร้อยเปอร์เซ็นตเสียที่ภาคจ่ายไฟไม่ช้าก็เร็วต้องหาตัวเสียเจอ แต่สำหรับเพื่อนช่างที่ยังใหม่หรือชั่วโมงบินยังน้อยอาจทำให้เสียเวลาหรืออาจเสียค่าอะไหล่เพิ่มขึ้นทั้งที่ไม่น่าเสีย และที่มากกว่านั้นคือมิเตอร์ตัวเก่งอาจพังได้เพราะขาดหลักการที่ถูกต้อง...การซ่อมที่ใช้เวลาให้สั้นลงและปลอดภัยต่อเครื่องมือของเราอุปกรณ์ที่น่าจะมีเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากมิเตอร์วัดไฟนั้นคือหลอดไฟ  60Watt  และ 200Watt เนื่องจากการจัดวงจรของทีวีแต่ละรุ่นอาจแตกต่างกันบ้างก็ขอยกเอาแท่นที่แยก  2 กราว์ด

          1.1
. เมื่อเครื่องมาถึงมือเราแล้วไม่จำเป็นต้องเปิดไฟเข้าเครื่องเมื่อเปิดฝาหลังออกมาช่างต้อสังเกต อุปกรณ์สมบูรณ์หรือไม่ หายไป แตก หัก ไหม้
 
          1.2. เมื่อพลิกปริ้นส์มาสังเกตตะกั่วให้ดีๆ ว่ามีหลวม ร่อนหรือไม่โดยเฉพาะเครื่องที่ยังไม่เคยซ่อมตะกั่วมักไม่ดี ไม่แนะนำให้เปิดไฟเข้าเครื่องถ้าเห็นตะกั่วที่ภาคจ่ายไฟร่อนหลวมอยู่ตรงนี้ระวังไฟ
300Vdc.ค้าง    
 
             1.3 จับมิเตอร์มาพร้อมวัดไฟยังไม่เสียบปลั๊กไฟให้ตรวจสอบว่ามีไฟค้างที่คาปาซิสเตอร์
(120 uF/400V) ตัวใหญ่ที่สุดหรือไม่เพราะตั้งมิเตอร์โอห์มไปวัดแล้วมิเตอร์พังไฟค้างหรือไม่มันบ่งบอกอะไรหลายๆอย่างทำให้เราประเมินว่าน่าจะซ่อมไปทางไหน
 
             1.4 ถ้าไฟค้างให้ใช้หลอดไฟคายประจุ(ใช้ขั้วหลอดทั้งสองแตะที่ขั้วของคาปาซิสเตอร์)ออกให้หมดนั้นแสดงว่าด้านกราวด์ร้อนนี้อาจไม่ช็อตจะบอกว่าไม่ช็อตแน่ๆก็ต้องไปดูรีซิสเตอร์ค่าต่ำๆขาดหรือเปล่า
 
             1.5 จากให้ตั้งมิเตอร์ X1K สายสีดำวัดขั้วบวก( +) ของคาปาซิสเตอร์ 300 Vdc. และสายสีแดงวัดขั้วลบ( --) ของคาปาซิสเตอร์ 300 Vdc.   เช่นกันแล้วดูผลที่มิเตอร์ถ้าเข็มตีขึ้นสุดแล้วค่อยๆลงมา นั้นแสดงว่าทางด้านกราวด์ร้อนไม่น่าจะมีอุปกรณ์ช็อตแต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีตัวอะไรเสีย ให้เช็ครีซิสเตอร์ขาด คาปาซิสเตอร์เสื่อม
 
             1.6 ถ้าเข็มขึ้นค้างไม่ยอมลงก็ลดมิเตอร์ลงมาเป็น X10 หรือ X1 จะได้รู้ว่าค่าโอห์มจริงๆได้เท่าไหร่ถ้าวัดได้ใกล้ศูนย์โอห์มนั้นแสดงว่ามีอุปกรณ์ช็อตอยู่   ตัวที่เสีย คือภาคจ่ายไฟช็อตเอง ถ้ารุ่นที่ใช้ TR / FET / IC ช็อตในกรณีนี้ฟิวส์ต้องขาดดำด้วย หรือ รีซิสเตอร์ตัวใหญ่โอห์มต่ำต้องขาด( R กระเบื้อง 4.7 / 7 Watt)
 
 
1.7 ถ้าวัดได้10 ถึง 100 โอห์มโดยประมาณให้ไปดูพวก C-DAM มันมักมีรอยไหม้หรือแตกให้เห็นเลย แต่จะให้แน่ให้ลอยอุปกรณ์ที่น่าสงสัยทีละตัวเมื่อลอยแล้วการวัดโอหฺ์มเป็นไปในทางที่ดีก็จบ ตัวที่ลอยออกนั้นแหละเสียในกรณีไฟ + 300 Vdc.ค้างตัวเสียไม่จำเป็นที่จะอยู่ทางด้านกราวด์ร้อนเสมอไป  เดี๋ยวนี้ ด้านกราวด์เย็นช็อต   เช่น  HOR ช็อต อยู่ไฟ +300Vcd. ก็ค้างได้เหมือนกันเจอบ่อยมากๆกับทีวีรุ่นใหม่ๆ
 
             1.8 ทางด้านกราวด์เย็นหรือทางฝั่งกราวด์ของไฟ +B   (ไฟ 100Vdc.) อยากจะรู้ว่าช็อตอยู่หรือไม่ ก็ทำเหมือนกันตามข้อ1.5/1.6/1.7 ถ้าโอห์มต่ำก็ให้ลอยอุปกรณ์ที่อยู่ในลายของไฟ 100 Vdc. ออกรวมทั้ง H-OUT ด้วย

              ทางด้านกราวดฺ์ร้อนและกราวดฺ์เย็น ก่อนจะเปิดไฟเข้าเครื่องขอแนะนำว่าให้ลอย TR HOR ออกก่อน รวมทั้งสายดีเก๊าซิ่งให้ดึงออกด้วยเพื่อความปลอดภัยหลายอย่าง แล้วให้ถอดฟิวส์ออก จากนั้นนำหลอดไฟ200watt  มาต่อแทนฟิวส์ ถ้าจอใหญ่กว่า 21นิ้ว ให้เพิ่มหลอดไปอีกหนึ่งหลอด 29นิ้ว บางรุ่นอาจใช้ถึงสามหลอด จากนั้นให้นำหลอดไฟ 60watt มาต่อคร่อม C ไฟ 100Vdc.  ถ้าหาไม่เจอก็ให้ต่อขั้วหนึ่งลงกราวด์อีกขั้วต่อที่ขา ของ TR HOR ที่ลอยออกไปนั้นแหละแล้วเปิดไฟเข้าเครื่องได้เลย

            1.9 การเปิดไฟเข้าดูเข็มมิเตอร์  ดูหลอดไฟ หลอดไฟ 200 watt  ต้องสว่างไม่เกินสามวินาทีแล้ว
หรี่ลง ถ้าเราไม่ถอดสายดีเก๊าซิ่งมันจะสว่างนานขอแนะนำให้ดึงออกก่อน  ถ้าเกินสามวินาทียังสว่างจ้าอยู่แสดงว่าด้านกราวด์ร้อนยังมีปัญหาอยู่ให้ตามไปแก้ไข หรือให้เริ่มต้นข้อ1 ใหม่ ถ้าหลอดไฟ 60watt  สว่างขึ้นมาแสดงว่าไฟ + B (ไฟ 100Vdc.) ออกมาแล้ว จะมากหรือน้อยดูที่เครื่องกำหนดมา

            1.10 ที่สำคัญ...ว่า หลอดไฟ 200 watt ที่ต่อแทนฟิวส์อยู่ให้ต่อไว้แบบนั้นจนกว่าจะซ่อมเสร็จ มีภาพมีเสียงแล้วค่อยถอดออก
 
 
2. อาการติด PROTEC
 
             สำหรับ TV รุ่นใหม่ๆสมัยนี้ คำว่า Protection เข้ามามีส่วนร่วมกับการเปิดไม่ติดด้วยแล้ว ทำให้ช่างที่ชั่วโมงบินยังน้อยอยู่ หรือช่างที่ไม่เคยซ่อมเครื่องแท่นนี้ งง ได้เลยแหละ เอาเป็นว่าเรามาทำความเข้าใจ
กับคำว่า protection  กันก่อน
 
PROTECTION  คือ การที่เครื่องทำงานแล้วหยุดทำงาน โดยระยะเวลาในช่วงที่เริ่มทำงานจนหยุดนี้ จะมีทั้งช้าและก็เร็วจนไม่ทันได้เช็คอะไรเลย   บางเครื่องเปิดจนมีภาพ  มีเสียงแล้วติด  protectionถึงจะทำงานก็มี หรือเครื่องเปิดไม่ติดเลยก็มี ดังนั้น เราต้องสรุปให้ได้ก่อนครับ ว่าเครื่องติด  protect หรือ ติด  stand   by กันแน่  ซึ่งโดยส่วนมาก เขาจะมองกันที่แรงไฟ  B+ เป็นอันดับแรก  คือมองว่าตอนที่เปิดเครื่อง ไฟ B+ อยู่ในอัตราแรงดันไฟปกติแล้วลดลง นี่คือ ติดprotect  หรือ จะมาดูกันง่ายๆก็คือ ถ้า Hor ทำงานแล้วตัด นั่นแหละ ติดprotect แล้ว  หรือบางแท่น ติด protect  ตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่องเลยก็มี แล้วติด  protect เรื่องของวงจรภาคอะไร ซึ่งจะนำเสนอ
 
1.เราต้องดูที่ IC ก่อน ว่า protect มันทำงานอยู่ที่ขาไหนของ IC  ง่ายๆเลยก็คือ ต้องหาวงจรให้ได้ก่อน แล้วคราวนี้เราก็มาดูซิ คำว่า protect มันอยู่ที่ขาไหน   บางเครื่องนั้นอย่าง sharp รุ่นเก่าๆ จะเป็นคำว่า RST หรือภาษาไทยก็รีเซทนั่นเอง แต่รุ่นใหม่ๆของ
 
     A.  SHARP  ตั้งแต่รุ่น ONE CHIP IC  TDA9381XXXX  จนมาถึงรุ่นที่ใช้ IC  IX3411 นั้น จะเป็นคำว่า PROT  แล้ว
 
    B.Panasonic ตั้งแต่แท่นเครื่อง MX-1, MX-2, MX-3, MX-4, MX-5, MX-6 จะใช้คำว่า X-RAY  แต่รุ่นใหม่ๆตั้งแต่ MX-5Z , GP3, GP4, GL1  จะเป็นคำว่า EHT/Protect 
 
    C. SONY  ก็จะเป็นคำว่า protect หรือ X-RAY ที่ตำแหน่งขา IC ในวงจร แต่บางวงจร ไม่เขียนบอกเลย มีคำว่า protect อยู่ตรงไหนบ้าง เจอแล้วก็ลองไล่ไปหา IC ดู
 
2.เมื่อเจอตำแหน่งขา protection แล้ว เรามาดูว่าปกติแรงดันไฟเป็น “ L”หรือเป็น “ H “แน่ ยกตัวอย่างของ ยี่ห้อ SHARP เพราะจะทำให้เราเข้าใจเรื่อง protection ได้ง่าย เพราะวงจร protectionไม่ซับซ้อนมากเท่าไหร่  รุ่น  21F-PD300

 - IXB741WJ (MPU)   ตัวนี้ ขา protect  จะอยู่ที่ขา  63  สภาวะปกติ  จะเป็น “ H “  มีไฟประมาณ 5Vdc. แล้วทีนี้เรามองไปที่ ไดโอด และทรานซิสเตอร์ที่ต่ออยู่กับขานี้  ซึ่งมีอยู่หลายตัว ตามระบบที่ทำไว้ ว่าจะให้มี protection กี่จุด  ซึ่งตรงนี้เราต้องดู ว่ามีทั้งหมดกี่จุด เราจะได้ตรวจหาได้ครบทั้งหมดจากรูปเป็นการดึงเอาเฉพาะ ไดโอด protection  และทรานซิสเตอร์ protection  มาโชว์ให้เห็นเท่านั้น  และดูวงจรประกอบไปด้วยจะเข้าใจได้ง่ายเลยล่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น