จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้าง 8051

โครงสร้าง 8051 

        ลักษณะการจัดขาภายนอกของ MCS-51การจัดขาตามลักษณะภายนอกของชิป MCS-51 จะมีการแบ่งกลุ่มการจัดขาออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน คือ

         กลุ่มขาแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง และสัญญาณนาฬิกา
         กลุ่มขาสำหรับการอ้างแอดเดรสและรับส่งข้อมูล
         กลุ่มขาที่ใช้ในการควบคุม
         กลุ่มขาพอร์ตใช้งานแบบขนานและอนุกรม





ขาที่สำคัญของไมโครคอนโทรลเลอร์ 
        1. ขา Vcc เป็นขารับแรงดันไฟกระแสตรง +5 Vdc
        2.ขา GND เป็นขากราวด์
        3. พอร์ต 0 (P0.0-P0.7) เป็นพอร์ตอินพุตเอาต์พุทแบบ 2 ทิศทาง สำหรับใช้งานทั่วไป
        3. พอร์ต 0 (P0.0-P0.7) เป็นพอร์ตอินพุตเอาต์พุทแบบ 2 ทิศทาง สำหรับใช้งานทั่วไป
        4. พอร์ต 1 (P1.0-P1.7) เป็นพอร์ตอินพุตเอาต์พุทแบบ 2 ทิศทาง สำหรับใช้งานทั่วไป
        5. พอร์ต 2 (P2.0-P2.7) เป็นพอร์ตอินพุตเอาต์พุทแบบ 2 ทิศทาง สำหรับใช้งานทั่วไป
        6. พอร์ต 3 (P3.0-P3.7) เป็นพอร์ตอินพุตเอาต์พุทแบบ 2 ทิศทาง สำหรับใช้งานทั่วไป
        7. ขารีเซต (RST) ใช้สำหรับการรีเซตการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์ โดยการรีเซตจะต้องคงสภาวะ high อย่างน้อยนาน 2 Machine cycle ในขณะที่ออสซิลเลเตอร์กำลังทำงานอยู่
        8. ขา ALE/PROG เป็นขาสัญญาณเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการแล็ซ (Latch) ค่าตำแหน่งแอดเดรสไบต์ตำ (Address Latch Enable)
        9. ขา PSEN (Program Store Enable) ทำหน้าที่เป็นสัญญาณสโตปเพื่ออ่านคำสั่งจากหน่วยความจำภายนอก เมื่อไมโครคอนโทรลเลอร์ประมวลผลคำสั่ง จากหน่วยความจำภายนอก ขานี้จะส่งสัญญาณสโตปจำนวน 2 ครั้งในแต่ละ Machine cycle แต่ในขณะที่ติดต่อกับหน่วยความจำข้อมูลภายนอกจะไม่มีการส่ง สัญญาณสโตปแต่อย่างใด
        10. ขา EA/Vcc (External Access Enable/Vcc) เป็นขาสำหรับการเลือกใช้หน่วยความจำโปรแกรมจากภายในหรือภายนอก โดยมีสถานะเป็น 0 และ 1 และขานี้ยังทำหน้าที่รับแรงดันไฟสำหรับ โปรแกรม (Vcc) ขนาด 12 โวลต์ เพื่อใช้ในระหว่างการโปรแกรมหน่วยความจำโปรแกรม (EPROM)
        11. ขา XTAL1 และขา XTAL2 เป็นขาใช้งานของวงจรอินเวอร์ติ้งออสซิลเลเตอร์แอมปลิไฟเออร์ (Inverting Oscillator Amplifier) สำหรับใช้ต่อร่วมกับคริสตอลภายนอก

โครงสร้างภายในของไมโครคอนโทรลเลอร์ MCS-51



         โครงสร้างภายในพื้นฐานของไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล MCS-51 เบอร์ 8051 ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆดังนี้

         ส่วนของหน่วยความจำภายในสำหรับเก็บข้อมูลขนาด 128 ไบท์ (Internal Data Memory)
         ส่วนของหน่วยความจำภายในสำหรับเก็บโปรแกรมที่มีขนาด 4 กิโลไบท์ (Internal Program Memory)
         อุปกรณ์ควบคุมการอินเตอร์รัพท์ (Interrupt Control Unit)
         ตัวตั้งเวลาและตัวนับเวลาขนาด 16 บิท 2 ชุด (Timer/Counter 0 and Timer/Counter 1)
         พอร์ตควบคุมการสื่อสารอนุกรมแบบ Full Duplex ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูลพร้อมกันได้
         พอร์ตขนานสำหรับติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกจำนวน 4 พอร์ต พอร์ตละ 8 บิท
         วงจรผลิตสัญญาณนาฬิกาภายใน

วงจรภายใน เบอร์5V power supply using 7805.

5V power supply using 7805.

อธิบายวงจร
7805 เป็น IC เรียงกระแสแบบคงที่ +5V โดย IC ตัวนี้มีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น

  • ป้องกันความปลอดภัยในส่วนของพื้นที่นั้น ๆ 
  • ทำการตัดวงจรเมื่อมีความร้อนสูง
  • กระแสภายในจะถูกจำกัดเมื่อเกิดปัญหาใน IC

กระแส output จ่ายสูงสุดได้ 1A และต้องมีแผ่นระบายความร้อน (heat sink) ที่เหมาะสม  โดยใช้หม้อแปลง 9V แบบ step down เป็นตัวจ่ายไฟหลัก จะได้กระแส 1A จากวงจร  bridge rectifies และ ตัวกรองกระแส C1 จากนั้น IC 7805 จะทำการสร้างแรงดัน 5V แบบคงที่

หมายเหตุ

  • วงจร bridge D1 สามารถทำได้ด้วยตนเอง  โดยใช้ ไดโอด 1N 4007  4 ตัว
  • หากกระแสจากวงจรมากกว่า 400mA ให้ตรวจสอบที่แผ่นระบายความร้อนว่าทำงานได้ดีหรือไม่

การเชื่อมสายโทรศัพท์และ POTs Splitter

การเชื่อมสายโทรศัพท์และ POTs Splitter
สายโทรศัพท์ที่ต่อกับอุปกรณ์ ADSL จะต้องเป็นสายตรงจากองค์การโทรศัพท์ โดยไม่มีการต่อพ่วงอุปกรณ์ใด ๆ การต่อพ่วงสามารถทำได้เมื่อต่อผ่านอุปกรณ์ POTs splitter เท่านั้น การต่อพ่วงโดยไม่ใช้ POTs Splitter จะทำให้สัญญาณ ADSL หลุด เมื่อมีการใช้สายโทรศัพท์ หรือสัญญาณ ADSL จะถูกรบกวนจนไม่สามารถใช้งานได้
POTS splitter คืออุปกรณ์ทีช่วยให้เราใช้โทรศัพท์ หรือแฟกส์ได้ พร้อม ๆ กับการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วย ADSL POTs Splitter ทำหน้าที่ในการแยกสัญญาณที่เป็น Voice ออกจากสัญญาณ ADSL เพื่อไม่ให้สัญญาณรบกวนซึ่งกันและกัน
อุปกรณ์ POTs splitter มี 3 ช่อง คือ LINE, MODEM และ PHONE ในการเชื่อมต่อให้นำสายโทรศัพท์ต่อเช้าที่ช่อง LINE และนำสายโทรศัพท์ที่ต่อไปยังโมเด็มต่อเข้าที่ช่อง Modem และ ต่อสายโทรศัพท์จากช่อง PHONE เข้าที่เครื่องรับโทรศัพท์
อุปกรณ์ POTs splitter โดยปกติมาพร้อมกับอุปกรณ์เราเตอร์ หรือโมเด็ม
รูปแบบการต่อพ่วงมีหลายรูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ 1 การเชื่อมต่อแบบมาตรฐาน
นำสายโทรศัพท์จากผนัง เชื่อมต่อเข้าที่ช่อง LINE ของ POTs splitter นำสายโทรศัพท์จากเครื่องรับโทรศัพท์เชื่อมต่อเข้าที่ช่อง PHONE และต่อสายโทรศัพท์จากเราเตอร์เข้าที่ช่อง MODEM
รูปแบบที่ 2 การต่อพ่วงโทรศัพท์มากกว่า 1 จุด
การต่อพ่วงมากกว่า 1 จุด ต้องติดตั้ง POTs splitter มากกว่า 1 ตัว
รูปแบบที่ 3 การต่อสายตรงเข้าโมเด็ม และต่อโทรศัพท์ผ่าน POTs Splitter
ในบางกรณีการเชื่อมต่อผ่าน POTs Splitter อาจทำให้โมเด็มหรือเราเตอร์ไม่สามารถ Sync สัญญาณ ADSL ได้ต้องใช้อุปกรณ์แยกโทรศัพท์แบบธรรมดาทั่ว ๆ ไป ( เข้า 1 ออก 2) และเชื่อมต่อไปยังโมเด็ม และ POTs splitter ดังภาพ
รูปแบบที่ 4 การเชื่อมต่อผ่าน Micro filter
Micro filter เป็นอุปกรณ์กรองสัญญาณความถี่ต่ำ เพื่อป้องกันสัญญาณโทรศัพท์เข้าไปรบกวนสัญญาณ ADSL อุปกรณ์ Micro filter มีสองช่อง คือ Line และ Phone ในการเชื่อมต่อ ต้องใช้อุปกรณ์แยกสายโทรศัพท์ แบบเข้า 1 ออก 2 และเชื่อมต่อสายโทรศัพท์จากอุปกรณ์แยกสายไปที่ Micro filter ที่ช่อง Line และต่อสายโทรศัพท์จากเครื่องรับโทรศัพท์เข้าที่ช่อง Phone
รูปแบบที่ 5 การเชื่อมต่อผ่านตู้สาขา PBX
กรณีการเชื่อมต่อผ่านตู้สาขา เพื่อให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ต ADSL ได้ ต้องมีการตัด - ต่อและเดินสายใหม่ ดังภาพ ถ้าใช้ micro filter ก็ต้องทำการตัด - ต่อสายเช่นเดียวกัน โดยต้องติดตั้งอุปกรณ์แยกสาย ( เช่นเดียวกับรูปแบบที่ 4) และต่อ micro filter ก่อนเข้าตู้ PABX

เทคนิคการตรวจซ่อม โทรทัศน์สีรุ่นใหม่ สำหรับช่างมือใหม่

เทคนิคการตรวจซ่อม
โทรทัศน์สีรุ่นใหม่
สำหรับช่างมือใหม่   
                                 โดย อ.สำราญ  ชนะบุตร
 
1. อาการเปิดไม่ติด      เปิดไม่ติดไม่แสดงอะไรให้เห็นเลยหรืออาจแสดงทาง LED หรือมีเสียงออสซิเลต ช่างเราๆเรียกว่า เปิดไม่ติดอาการนี้เกือบร้อยเปอร์เซ็นตเสียที่ภาคจ่ายไฟไม่ช้าก็เร็วต้องหาตัวเสียเจอ แต่สำหรับเพื่อนช่างที่ยังใหม่หรือชั่วโมงบินยังน้อยอาจทำให้เสียเวลาหรืออาจเสียค่าอะไหล่เพิ่มขึ้นทั้งที่ไม่น่าเสีย และที่มากกว่านั้นคือมิเตอร์ตัวเก่งอาจพังได้เพราะขาดหลักการที่ถูกต้อง...การซ่อมที่ใช้เวลาให้สั้นลงและปลอดภัยต่อเครื่องมือของเราอุปกรณ์ที่น่าจะมีเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากมิเตอร์วัดไฟนั้นคือหลอดไฟ  60Watt  และ 200Watt เนื่องจากการจัดวงจรของทีวีแต่ละรุ่นอาจแตกต่างกันบ้างก็ขอยกเอาแท่นที่แยก  2 กราว์ด

          1.1
. เมื่อเครื่องมาถึงมือเราแล้วไม่จำเป็นต้องเปิดไฟเข้าเครื่องเมื่อเปิดฝาหลังออกมาช่างต้อสังเกต อุปกรณ์สมบูรณ์หรือไม่ หายไป แตก หัก ไหม้
 
          1.2. เมื่อพลิกปริ้นส์มาสังเกตตะกั่วให้ดีๆ ว่ามีหลวม ร่อนหรือไม่โดยเฉพาะเครื่องที่ยังไม่เคยซ่อมตะกั่วมักไม่ดี ไม่แนะนำให้เปิดไฟเข้าเครื่องถ้าเห็นตะกั่วที่ภาคจ่ายไฟร่อนหลวมอยู่ตรงนี้ระวังไฟ
300Vdc.ค้าง    
 
             1.3 จับมิเตอร์มาพร้อมวัดไฟยังไม่เสียบปลั๊กไฟให้ตรวจสอบว่ามีไฟค้างที่คาปาซิสเตอร์
(120 uF/400V) ตัวใหญ่ที่สุดหรือไม่เพราะตั้งมิเตอร์โอห์มไปวัดแล้วมิเตอร์พังไฟค้างหรือไม่มันบ่งบอกอะไรหลายๆอย่างทำให้เราประเมินว่าน่าจะซ่อมไปทางไหน
 
             1.4 ถ้าไฟค้างให้ใช้หลอดไฟคายประจุ(ใช้ขั้วหลอดทั้งสองแตะที่ขั้วของคาปาซิสเตอร์)ออกให้หมดนั้นแสดงว่าด้านกราวด์ร้อนนี้อาจไม่ช็อตจะบอกว่าไม่ช็อตแน่ๆก็ต้องไปดูรีซิสเตอร์ค่าต่ำๆขาดหรือเปล่า
 
             1.5 จากให้ตั้งมิเตอร์ X1K สายสีดำวัดขั้วบวก( +) ของคาปาซิสเตอร์ 300 Vdc. และสายสีแดงวัดขั้วลบ( --) ของคาปาซิสเตอร์ 300 Vdc.   เช่นกันแล้วดูผลที่มิเตอร์ถ้าเข็มตีขึ้นสุดแล้วค่อยๆลงมา นั้นแสดงว่าทางด้านกราวด์ร้อนไม่น่าจะมีอุปกรณ์ช็อตแต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีตัวอะไรเสีย ให้เช็ครีซิสเตอร์ขาด คาปาซิสเตอร์เสื่อม
 
             1.6 ถ้าเข็มขึ้นค้างไม่ยอมลงก็ลดมิเตอร์ลงมาเป็น X10 หรือ X1 จะได้รู้ว่าค่าโอห์มจริงๆได้เท่าไหร่ถ้าวัดได้ใกล้ศูนย์โอห์มนั้นแสดงว่ามีอุปกรณ์ช็อตอยู่   ตัวที่เสีย คือภาคจ่ายไฟช็อตเอง ถ้ารุ่นที่ใช้ TR / FET / IC ช็อตในกรณีนี้ฟิวส์ต้องขาดดำด้วย หรือ รีซิสเตอร์ตัวใหญ่โอห์มต่ำต้องขาด( R กระเบื้อง 4.7 / 7 Watt)
 
 
1.7 ถ้าวัดได้10 ถึง 100 โอห์มโดยประมาณให้ไปดูพวก C-DAM มันมักมีรอยไหม้หรือแตกให้เห็นเลย แต่จะให้แน่ให้ลอยอุปกรณ์ที่น่าสงสัยทีละตัวเมื่อลอยแล้วการวัดโอหฺ์มเป็นไปในทางที่ดีก็จบ ตัวที่ลอยออกนั้นแหละเสียในกรณีไฟ + 300 Vdc.ค้างตัวเสียไม่จำเป็นที่จะอยู่ทางด้านกราวด์ร้อนเสมอไป  เดี๋ยวนี้ ด้านกราวด์เย็นช็อต   เช่น  HOR ช็อต อยู่ไฟ +300Vcd. ก็ค้างได้เหมือนกันเจอบ่อยมากๆกับทีวีรุ่นใหม่ๆ
 
             1.8 ทางด้านกราวด์เย็นหรือทางฝั่งกราวด์ของไฟ +B   (ไฟ 100Vdc.) อยากจะรู้ว่าช็อตอยู่หรือไม่ ก็ทำเหมือนกันตามข้อ1.5/1.6/1.7 ถ้าโอห์มต่ำก็ให้ลอยอุปกรณ์ที่อยู่ในลายของไฟ 100 Vdc. ออกรวมทั้ง H-OUT ด้วย

              ทางด้านกราวดฺ์ร้อนและกราวดฺ์เย็น ก่อนจะเปิดไฟเข้าเครื่องขอแนะนำว่าให้ลอย TR HOR ออกก่อน รวมทั้งสายดีเก๊าซิ่งให้ดึงออกด้วยเพื่อความปลอดภัยหลายอย่าง แล้วให้ถอดฟิวส์ออก จากนั้นนำหลอดไฟ200watt  มาต่อแทนฟิวส์ ถ้าจอใหญ่กว่า 21นิ้ว ให้เพิ่มหลอดไปอีกหนึ่งหลอด 29นิ้ว บางรุ่นอาจใช้ถึงสามหลอด จากนั้นให้นำหลอดไฟ 60watt มาต่อคร่อม C ไฟ 100Vdc.  ถ้าหาไม่เจอก็ให้ต่อขั้วหนึ่งลงกราวด์อีกขั้วต่อที่ขา ของ TR HOR ที่ลอยออกไปนั้นแหละแล้วเปิดไฟเข้าเครื่องได้เลย

            1.9 การเปิดไฟเข้าดูเข็มมิเตอร์  ดูหลอดไฟ หลอดไฟ 200 watt  ต้องสว่างไม่เกินสามวินาทีแล้ว
หรี่ลง ถ้าเราไม่ถอดสายดีเก๊าซิ่งมันจะสว่างนานขอแนะนำให้ดึงออกก่อน  ถ้าเกินสามวินาทียังสว่างจ้าอยู่แสดงว่าด้านกราวด์ร้อนยังมีปัญหาอยู่ให้ตามไปแก้ไข หรือให้เริ่มต้นข้อ1 ใหม่ ถ้าหลอดไฟ 60watt  สว่างขึ้นมาแสดงว่าไฟ + B (ไฟ 100Vdc.) ออกมาแล้ว จะมากหรือน้อยดูที่เครื่องกำหนดมา

            1.10 ที่สำคัญ...ว่า หลอดไฟ 200 watt ที่ต่อแทนฟิวส์อยู่ให้ต่อไว้แบบนั้นจนกว่าจะซ่อมเสร็จ มีภาพมีเสียงแล้วค่อยถอดออก
 
 
2. อาการติด PROTEC
 
             สำหรับ TV รุ่นใหม่ๆสมัยนี้ คำว่า Protection เข้ามามีส่วนร่วมกับการเปิดไม่ติดด้วยแล้ว ทำให้ช่างที่ชั่วโมงบินยังน้อยอยู่ หรือช่างที่ไม่เคยซ่อมเครื่องแท่นนี้ งง ได้เลยแหละ เอาเป็นว่าเรามาทำความเข้าใจ
กับคำว่า protection  กันก่อน
 
PROTECTION  คือ การที่เครื่องทำงานแล้วหยุดทำงาน โดยระยะเวลาในช่วงที่เริ่มทำงานจนหยุดนี้ จะมีทั้งช้าและก็เร็วจนไม่ทันได้เช็คอะไรเลย   บางเครื่องเปิดจนมีภาพ  มีเสียงแล้วติด  protectionถึงจะทำงานก็มี หรือเครื่องเปิดไม่ติดเลยก็มี ดังนั้น เราต้องสรุปให้ได้ก่อนครับ ว่าเครื่องติด  protect หรือ ติด  stand   by กันแน่  ซึ่งโดยส่วนมาก เขาจะมองกันที่แรงไฟ  B+ เป็นอันดับแรก  คือมองว่าตอนที่เปิดเครื่อง ไฟ B+ อยู่ในอัตราแรงดันไฟปกติแล้วลดลง นี่คือ ติดprotect  หรือ จะมาดูกันง่ายๆก็คือ ถ้า Hor ทำงานแล้วตัด นั่นแหละ ติดprotect แล้ว  หรือบางแท่น ติด protect  ตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่องเลยก็มี แล้วติด  protect เรื่องของวงจรภาคอะไร ซึ่งจะนำเสนอ
 
1.เราต้องดูที่ IC ก่อน ว่า protect มันทำงานอยู่ที่ขาไหนของ IC  ง่ายๆเลยก็คือ ต้องหาวงจรให้ได้ก่อน แล้วคราวนี้เราก็มาดูซิ คำว่า protect มันอยู่ที่ขาไหน   บางเครื่องนั้นอย่าง sharp รุ่นเก่าๆ จะเป็นคำว่า RST หรือภาษาไทยก็รีเซทนั่นเอง แต่รุ่นใหม่ๆของ
 
     A.  SHARP  ตั้งแต่รุ่น ONE CHIP IC  TDA9381XXXX  จนมาถึงรุ่นที่ใช้ IC  IX3411 นั้น จะเป็นคำว่า PROT  แล้ว
 
    B.Panasonic ตั้งแต่แท่นเครื่อง MX-1, MX-2, MX-3, MX-4, MX-5, MX-6 จะใช้คำว่า X-RAY  แต่รุ่นใหม่ๆตั้งแต่ MX-5Z , GP3, GP4, GL1  จะเป็นคำว่า EHT/Protect 
 
    C. SONY  ก็จะเป็นคำว่า protect หรือ X-RAY ที่ตำแหน่งขา IC ในวงจร แต่บางวงจร ไม่เขียนบอกเลย มีคำว่า protect อยู่ตรงไหนบ้าง เจอแล้วก็ลองไล่ไปหา IC ดู
 
2.เมื่อเจอตำแหน่งขา protection แล้ว เรามาดูว่าปกติแรงดันไฟเป็น “ L”หรือเป็น “ H “แน่ ยกตัวอย่างของ ยี่ห้อ SHARP เพราะจะทำให้เราเข้าใจเรื่อง protection ได้ง่าย เพราะวงจร protectionไม่ซับซ้อนมากเท่าไหร่  รุ่น  21F-PD300

 - IXB741WJ (MPU)   ตัวนี้ ขา protect  จะอยู่ที่ขา  63  สภาวะปกติ  จะเป็น “ H “  มีไฟประมาณ 5Vdc. แล้วทีนี้เรามองไปที่ ไดโอด และทรานซิสเตอร์ที่ต่ออยู่กับขานี้  ซึ่งมีอยู่หลายตัว ตามระบบที่ทำไว้ ว่าจะให้มี protection กี่จุด  ซึ่งตรงนี้เราต้องดู ว่ามีทั้งหมดกี่จุด เราจะได้ตรวจหาได้ครบทั้งหมดจากรูปเป็นการดึงเอาเฉพาะ ไดโอด protection  และทรานซิสเตอร์ protection  มาโชว์ให้เห็นเท่านั้น  และดูวงจรประกอบไปด้วยจะเข้าใจได้ง่ายเลยล่ะ

การประยุกต์ใช้ CPLD เพื่อการฟื้นสภาพ

การประยุกต์ใช้ CPLD เพื่อการฟื้นสภาพ
อุปกรณ์วิเคราะห์ความสูงพัลส์แบบหลายช่อง
นายศุภฤกษ์ ลี้ตระกูลพิชิตชัย1 เดโช ทองอร่าม2* กมลทิพย์ พลอยกระจ่าง3
ภาควิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Email: fntdta@eng.chula.ac.th
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้ CPLD สำหรับสร้างเป็นวงจรแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอล
(เอดีซี) แบบวิลคินสันขนาด 2048 ช่องวัด ที่ความถี่ใช้งาน 100 MHz เพื่อใช้ฟื้นสภาพของอุปกรณ์วิเคราะห์
ความสูงพัลส์แบบหลายช่องที่มีใช้งานอยู่เดิม ซึ่งผลของการนำ CPLD มาประยุกต์ใช้ส่งผลให้ขนาด ความ
ซับซ้อนของวงจร และอัตราการสูญเสียกำลังไฟฟ้าของวงจรเอดีซีลดลง ขณะเดียวกันการทำงานที่ความถี่สูงก็ดี
ขึ้น โดยผลการทดสอบค่าความเป็นเชิงเส้นของการแปลงผันสัญญาณอยู่ที่ R2 = 0.9995 และมีอัตราการแปลผัน
สูงสุดถึง 48.828 kcps ดั้งนั้นจึงทำให้ระบบเอดีซีที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ทดแทนเอดีซีของ
ระบบเดิมได้
คำสำคัญ: ซีพีแอลดี เอ็มซีเอ อุปกรณ์วิเคราะห์แบบหลายช่อง และอุปกรณ์วิเคราะห์ความสูงพัลส์
Applying a CPLD for Refurbishment
of a Multi-channel Pulse Height Analyzer
Supalerk Leetragunpichitchai Decho Thong-Aram* Kamontip Ploykrachang
Email: fntdta@eng.chula.ac.th
Abstract
This research applied a CPLD for construction of a 100MHz, 2048 channel, Wilkinson type analog
to digital converter (ADC) circuits for refurbishment of an original multi-channel pulse height analyzer
(PHA) ADC. Introduction of the CPLD could reduce the complexity of the circuits, equipment size and also
the power consumption while the operation speed was increased. The linearity test of the ADC was found to
be excellent with an R2 = 0.9995 and a maximum pulse rate of 48.828 kcps could be converted in this system.
Therefore the developed system was appropriate for replacing the original ADC.
Keywords: CPLD, MCA, Multi-channel analyzer, Pulse Height Analyzer
การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งที่ 10: 16-17 สิงหาคม 2550
ET11-2
2
บทนำ
ปัจจุบันสถาบันวิจัยและสถานศึกษาต่าง ๆ ได้มีการนำเอาอุปกรณ์วิเคราะห์ความสูงพัลส์
นิวเคลียร์ (Pulse Height Analyzer) เข้ามาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์
วิเคราะห์ความสูงแบบหลายช่อง (Multichannel Analyzer) ได้ถูกนำมาใช้กับงานด้านการวิจัยและ
การเรียนการสอนที่มีการประยุกต์ใช้เทคนิคนิวเคลียร์ ซึ่งอุปกรณ์วิเคราะห์ความสูงแบบหลาย
ช่องที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบันได้สั่งนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพงและบางเครื่องได้ผ่านการใช้
งานมาแล้วเป็นเวลานาน เมื่อเกิดการชำรุดเสียหายจึงทำให้ยากต่อการซ่อมบำรุง เนื่องจากเป็น
เทคโนโลยีที่เก่าที่มีความซับซ้อนของวงจรมากและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์บางตัวก็เลิกผลิตไป
แล้วหรือถ้าส่งซ่อมกับบริษัทผู้ผลิตก็มีราคาซ่อมที่แพงซึ่งอาจทำให้ไม่คุ้มค่ากับการซ่อมบำรุง
ดังนั้นคณะผู้วิจัยซึ่งได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการซ่อมบำรุงเครื่องมือจึงได้มี
แนวคิดที่จะทำการฟื้นสภาพ (Refurbish) อุปกรณ์วิเคราะห์ความสูงแบบหลายช่องที่ผ่านการใช้
งานมานานและเกิดการชำรุดเสียหาย เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในส่วนของระบบแปลงสัญญาณพัลส์อนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลชนิดวิลคินสัน ด้วยการ
ประยุกต์ใช้ไอซีดิจิตอลชนิดโปรแกรมได้ (Complex Programmable Logic Device : CPLD)
มาออกแบบเพื่อใช้ทดแทนในระบบแปลงสัญญาณพัลส์อนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลชนิดวิลคิน
สันที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะทำให้ได้วงจรที่มีขนาดเล็กลง มีการสิ้นเปลืองการใช้กำลังต่ำ มีความซับซ้อน
ทางวงจรลดลงและสามารถตรวจสอบการทำงานของระบบได้ง่ายขึ้น เนื่องจากสามารถ
จำลองการทำงานของวงจรได้บนคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้การซ่อมบำรุงในอนาคตก็สามารถ
ทำได้ง่ายขึ้นด้วย
วิธีการ
1. หลักการทำงานของระบบวิเคราะห์ความสูงของพัลส์แบบหลายช่องด้วยเทคนิควิลคินสัน
อุปกรณ์วิเคราะห์แบบหลายช่องด้วยเทคนิควิลคินสันมีการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่ง
ในขั้นตอนการทำงานเริ่มจากการตรวจจับค่าพีคของสัญญาณพัลส์นิวเคลียร์ที่ถูกป้อนเข้ามา
ทางด้านขาเข้า (Input) พร้อมคงค่าชั่วขณะด้วยวงจรพีคดีเทคเตอร์ (Peak Detector) และสเตรท
เชอร์ (Stretcher) เพื่อให้ได้ค่าขนาดของสัญญาณคงที่ขณะทำการแปลงความสูงของพัลส์เป็น
ข้อมูลดิจิตอลที่สอดคล้องกับความสูงของพัลส์ด้านขาเข้าโดยข้อมูลนี้จะถูกใช้เป็นข้อมูลในการ
กำหนดตำแหน่งแอดแดรสของหน่วยความจำ ซึ่งในแต่ละครั้งที่มีการแปลงข้อมูลความสูงของ
พัลส์ใด ๆ เป็นตำแหน่งของแอดเดรสในหน่วยความจำก็จะมีการเพิ่มค่าของข้อมูลในแอดเดรส
การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งที่ 10: 16-17 สิงหาคม 2550
ET11-3
3
นั้น ๆ ด้วย โดยทั่วไปการแปลงความสูงของพัลส์แบบหลายช่องด้วยเทคนิควิลคินสันมีความเป็น
เชิงเส้นในการแปลงข้อมูลสูง ซึ่งในระยะแรกทำงานที่ฐานความถี่ 10 MHz ปัจจุบันสามารถ
ทำงานด้วยความถี่ฐานเวลาสูงถึง 450 MHz หลักการเบื้องต้นของระบบการแปลงความสูงของ
พัลส์แบบหลายช่องด้วยเทคนิควิลคินสันแสดงดังรูปที่ 1
รู





รูปที่ 1 แผนภาพการทำงานของระบบการแปลงความสูงของพัลส์ด้วยเทคนิควิลคินสัน
2. การพัฒนาวงจรแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอลด้วยเทคนิควิลคินสัน
วงจรแปลงความสูงสัญญาณพัลส์อนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวิลคิน
สันซึ่งใช้ฐานความถี่ 100 MHz มีความละเอียดในการแปลงความสูงพัลส์ขนาด 11 บิต โดยได้
แยกการพัฒนาระบบแปลงสัญญาณนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของการจัดการสัญญาณอนาลอก
และส่วนของการจัดการสัญญาณดิจิตอล
2.1 ส่วนของการจัดการสัญญาณอนาลอก
การออกแบบสร้างวงจรในส่วนนี้ได้ใช้แนวทางและหลักการที่ได้ศึกษามาจากเครื่อง
วิเคราะห์ความสูงของสัญญาณพัลส์แบบหลายช่องของบริษัท Tracor Northern รุ่น TN
1705/1706 ซึ่งในการออกแบบได้เน้นการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีจำหน่ายในประเทศเป็น
หลัก โดยได้เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีสมรรถนะการทำงานสูง การรบกวนสัญญาณต่ำแต่ทำงานได้ดีที่
ความถี่สูงและขณะเดียวกันก็ต้องมีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานต่ำด้วย เมื่อได้คัดเลือกอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ตามสเปคที่ต้องการแล้วจึงนำมาออกแบบเป็นวงจรที่มีการทำงานที่เลียนแบบ
ฟังค์ชันการทำงานของวงจรของบริษัท Tracor Northern แต่ละส่วนดังแสดงในแผนภาพรูปที่ 2
สำหรับแผนภาพของสัญญาณต่าง ๆ ที่ใช้กำหนดการทำงานในส่วนของการจัดการสัญญาณ
อนาลอกตลอดจนสัญญาณควบคุมการทำงานในระบบดิจิตอลที่นำมาใช้ในการออกแบบแสดงได้
ดังรูปที่ 3
การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งที่ 10: 16-17 สิงหาคม 2550
ET11-4
4
รู



รูปที่ 2 แผนภาพวงจรแปลงสัญญาณพัลส์ในส่วนของสัญญาณอนาลอก
รู



รูปที่ 3 แผนภาพสัญญาณและเวลาต่าง ๆ ที่ใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบวงจร
การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งที่ 10: 16-17 สิงหาคม 2550
ET11-5
5
2.1 ส่วนของการจัดการสัญญาณดิจิตอล
วงจรแปลงสัญญาณพัลส์ในส่วนของการจัดการสัญญาณทางดิจิตอลถูกพัฒนาขึ้นโดย
การนำชิป CPLD (Complex Programmable Logic Device) ซึ่งเป็นไอซีดิจิตอลสมัยใหม่ที่มี
ความเร็วสูงและการสิ้นเปลืองพลังงานต่ำเพียงชิปเดียวมาประยุกต์ใช้แทนวงจรทั้งหมดของ
บริษัท Tracor Northern ซึ่งเดิมใช้ไอซีลอจิกตระกูล TTL และ CMOS โดยชิป CPLD นี้เป็น
อุปกรณ์ที่ได้ถูกออกแบบให้โครงสร้างของวงจรภายในประกอบด้วยวงจรลอจิกพื้นฐานต่างๆ
เช่น AND array OR array และ macrocells จึงทำให้สามารถนำมาออกแบบสร้างเป็นวงจรดิจิตอล
ได้ทั้งแบบวงจรคอมบิเนชั่น (Combination) และ ซีเควนเชียล(Sequential) จึงทำให้ง่ายต่อการ
นำไปออกแบบเป็นวงจรดิจิตอลในรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้นยังสามารถจำลองการทำงานของ
วงจรที่ออกแบบไว้ได้โดยง่ายจากโปรแกรมที่ใช้พัฒนาชิป CPLD ของผู้ผลิตบริษัทหลังจากนั้นก็
สามารถโปรแกรมโครงสร้างวงจรทั้งหมดตามที่ได้ออกแบบไว้เข้าไปเก็บภายในชิปของไอซี
CPLD ได้ โดยข้อมูลจะไม่มีการสูญหายแม้จะไม่จ่ายไฟเลี้ยงให้ก็ตาม สำหรับรูปแบบและ
ฟังค์ชันการทำงานของส่วนการจัดการสัญญาณดิจิตอลที่ได้พัฒนาและโปรแกรมลงชิปไอซี
CPLD ที่มีจำหน่ายในประเทศแสดงดังรูปที่ 4
รู



รูปที่ 4 แผนภาพวงจรจัดการสัญญาณในส่วนดิจิตอล

ผลการทดลองและวิจารณ์
1. ขนาดเปรียบเทียบของบอร์ดที่ได้ทำการพัฒนาขึ้นกับบอร์ดของบริษัท Tracor Northern
ขนาดของบอร์ดที่เป็นส่วนของการจัดการสัญญาณอนาลอกที่ได้ทำการพัฒนาขึ้นแสดง
ดังรูปที่ 5ก. โดยที่ขนาดของบอร์ดที่เป็นส่วนของการจัดการสัญญาณดิจิตอลแสดงดังรูปที่ 6ก.
ขณะที่บอร์ดจริงของบริษัท Tracor Northern แสดงดังรูปที่ 5ข. และ 6ข. ตามลำดับ



รูปที่ 6 ขนาดเปรียบเทียบของบอร์ดที่เป็นส่วนของการจัดการสัญญาณดิจิตอล
รูปที่ 5ก. พัฒนาขึ้นเอง รูปที่ 5ข. ของบริษัท Tracor Northern
รู

2. การทดสอบในส่วนของอนาลอก
การทดสอบในส่วนของอนาลอกได้ทำการทดสอบความเป็นเชิงเส้นระหว่างขนาดความ
สูงของพัลส์ขาเข้าขนาดต่าง ๆ กับค่าเวลารันดาวน์ (Run Down Time) ปรากฏผลการทดสอบดัง
แสดงในตารางที่ 1 และรูปที่ 7 โดยรูปแบบตัวอย่างของสัญญาณที่ใช้ในการทดสอบแสดงดังรูปที่
8 จากรูปที่ 8ก. เป็นสัญญาณพัลส์ขาเข้าที่มีขนาดความสูงพัลส์ 5 V และรูปที่ 8ข. คือรูปแบบของ
สัญญาณรันดาวน์ขนาด 10.4 ไมโครวินาที ที่มีความสอดคล้องกับขนาดความสูงพัลส์ด้านขาเข้า
ตารางที่ 1 ขนาดความสูงของพัลส์ขาเข้าขนาดต่าง ๆ กับค่าเวลารันดาวน์
y = 2.0098x + 0.3776
R2 = 0.9995
0.0
5.0
10.0
15.0
20.0
25.0
0 2 4 6 8 10 12
ควา